วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอ เพียงกับการศึกษา

“เศรษฐกิจพอเพียง” สมดุล แห่งชีวิต
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็น ปรัชญาที่พระราชทานให้คนไทยใช้เป็นหลักคิดและหลัก ปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดสมดุลในชีวิต ในครอบครัว ในโรงเรียน ในประเทศ โดยตั้งสมมุติ-ฐาน ที่ว่าทุกสิ่งอนิจจัง ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง ทั้งปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงมาจากนอกประเทศ กับในประเทศ นอกโรงเรียนกับในโรงเรียน นอกครอบครัวกับในครอบครัวแล้วทรงชี้ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบ 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และทางวัฒนธรรม
“คุณธรรม” รากเศรษฐกิจพอเพียง
ภูมิคุ้มกันในตัวเราที่ดีก็คือ Empowerment คือ ทำให้เข้มแข็ง เข้มแข็งทางการเงิน ก็คือว่า ครอบครัวต้องมีเงินออม ไม่ใช่มีหนี้ ถ้ามีหนี้ก็คือ เป็นเรื่องของ ความอ่อนแอ แต่ถ้ามีเงินออมมากก็เป็นเรื่องของความเข้มแข็ง โดยมีเงื่อนไข สำคัญคือเรื่องคุณธรรม เพราะการที่คนขี้โกงเอาเงินไปใช้แล้วก็ประสบความสุข ความร่ำรวย ซึ่งผิดกับหลักการดังกล่าว เพราะผิดเงื่อนไข คือ เรื่องคุณธรรม โรงเรียนไหนจะเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ จะต้องไปสร้างคุณธรรมใน โรงเรียนก่อน ตั้งแต่ผู้อำนวยการลงไปถึงภารโรง เด็กทุกคน ครูทุกคน ต้องมี คุณธรรม
3 องค์ประกอบ บันไดสู่เป้าหมาย
องค์ประกอบของความ พอเพียงมี 3 องค์ประกอบ คือ
1. ความพอประมาณไม่สุดโต่ง จะลง ทุน จะซื้อของ ต้องพอประมาณ
2. ต้องมีเหตุผลอธิบายได้
3. ต้องสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยน แปลงทั้งภายนอกภายใน
3 เงื่อนไขหัวใจหลัก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง มีพระราชดำรัสถึงแนวทางการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ได้ผลดีว่ามี 3 เงื่อนไข คือ
1. หลักวิชา โดย พระองค์ท่านจะทำอะไร ทรงอาศัยหลักวิชาเสมอ ไม่ได้ทำตามอารมณ์ ไม่ได้ทำตามกระแส ไม่ได้ตัดสินใจตามผลประโยชน์ของใคร แต่ใช้หลักวิชาเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ทุกคน
2. เงื่อนไข คุณธรรม ต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต
3. เงื่อนไขในการดำเนินชีวิต ต้องรอบรู้ ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน เรื่อง ความเพียร

การพิจารณาที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหานั้นๆ ต้องเกิดฉันทะในนั้น พอรู้หมด รู้วิธีแก้ปัญหาแล้วท้อ ฝืนทำก็ไม่ได้งาน แต่เมื่อรู้ปัญหาแล้ว ต้องสร้าง ฉันทะ สามัคคี-หลังจากนั้น แล้วพอจะลงมือทำ การลงมือปฏิบัตินั้น ควรคำนึงเสมอว่า เราจะทำคนเดียวไม่ได้ เราต้องทำร่วมกันเป็นองค์กร เป็นหมู่คณะ จึงจะมีพลัง จะแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ ด้วยดี.

แหล่งที่มา http://www.eschool.su.ac.th/admin/articleadm.php?no=40&code=y

จัดทำโดย นายมูฮำหมัด อุมาร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น