วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นักเรียนประสานเสียงเชียร์

นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานปฐมนิเทศนักเรียนในโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนในประเทศ ๔๘๖ คน ที่ได้รับคัดเลือกจากโรงเรียนทั่วประเทศให้เข้าเรียนโรงเรียนชื่อดัง ๑๑ แห่งในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ร.ร.สวนกุหลาบวิทยาลัย ร.ร.บดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ร.ร. เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ร.ร. สตรีวิทยา ร.ร.หอวัง ร.ร.ศึกษานารี ร.ร.เทพศิรินทร์ ร.ร.สามเสนวิทยาลัย ร.ร.วัดสุทธิวราราม ร.ร.โยธินบูรณะ และ ร.ร.ภ.ปร.ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย "มติชน" ได้สัมภาษณ์ความเห็นของนักเรียน-ผู้ปกครองที่เข้าโครงการนำเสนอ
ด.ญ.จารุวรรณ เครือหงษ์ อายุ ๑๔ ปี ม.๒ โรงเรียนศรีสองรักษ์วิทยา อ.ด่านซ้าย จ.เลย "ตื่นเต้นนิดหน่อยพอรู้ว่าได้รับเลือกให้มาเรียนที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาฯ มีชื่อมาก แต่ก็ไม่ได้ประหม่า และมั่นใจว่าจะเรียนได้ไม่แพ้โรงเรียนเดิมทีได้เกรดเฉลี่ย ๓.๘๙ หากขยันอ่านหนังสือ แต่ถ้าได้น้อยกว่าก็ไม่เป็นไรเพราะโรงเรียนในกรุงเทพฯ มีมาตรฐาน และความพร้อมของอุปกรณ์การเรียนการสอนมากกว่าโรงเรียนต่างจังหวัด เชื่อว่า ๔ เดือนนี้จะได้ประสบการณ์มากมาย โดยเฉพาะเรื่องของการเรียน
ด.ญ.แหวนพลอย จำเนียรกุล อายุ ๑๔ ปี ม.๒ โรงเรียนเมืองยางพิทยาคม อ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์ "ได้รับเลือกให้เรียนที่ศึกษานารี ดีใจมากเพราะเป็นครั้งแรกที่ขึ้นมากรุงเทพฯ ยังตื่นเต้นอยู่เลย พอไปบอกพ่อแม่ที่บ้านท่านก็สนับสนุนอยากให้มาหาประสบการณ์ดู คิดว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์มากเพราะทำให้ได้ความรู้ เทคนิค การเรียนการสอนจากโรงเรียนชื่อดัง มีมาตรฐานสูง ไม่ห่วงว่าเรียนแล้วจะได้เกรดน้อยกว่าเดิม เพราะไม่ได้มองเรื่องเกรด แต่ก็ทำใจไว้แล้วว่าเรียนที่นี่อาจจะได้เกรดน้อยลง เพราะมาตรฐานโรงเรียนต่างจากกรุงเทพฯ ส่วนการเตรียมความพร้อมก็ไม่ได้เตรียมอะไรมากเพราะกระชั้นชิด"
ด.ญ.สุพัฒนาตรา บุญวงศ์ อายุ ๑๓ ปี ม.๒ โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ อ.เมืองจันทร์ จ.ศรีสะเกษ "ที่บ้านมีอาชีพทำนา โครงการนี้ดีมากเพราะให้โอกาสเด็กต่างจังหวัดได้เข้ามาลองใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ซึ่งจะได้ประโยชน์ตรงในเรื่องการเรียนหนังสือจะได้รู้เทคนิค วิธีการเรียนของเด็กโรงเรียนดังเป็นอย่างไร โดยได้รับเลือกให้เรียนที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย พอเข้าไปเรียนแล้วจะต้องปรับตัวค่อนข้างมากเพราะกลัวเรียนไม่ทันเพื่อน ส่วนค่านิยมของเด็กกรุงเทพฯ ที่นิยมกวดวิชา โดยส่วนตัวมองว่าไม่ได้เสียหายอะไร หากมีโอกาสได้ไปเรียนกวดวิชาก็อยากลองดูว่าเป็นอย่างไร"


จัดทำโดย นายอิสลาม แวกิจิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น